“ทางเลือกการใช้พลาสมาเกล็ดเลือดเข้มข้น (Platelet rich plasma: PRP) ในการรักษาสัตว์เลี้ยง”
Admin(Main)
“ทางเลือกการใช้พลาสมาเกล็ดเลือดเข้มข้น (Platelet rich plasma: PRP) ในการรักษาสัตว์เลี้ยง”
ผศ.ดร. สมโภชน์ วีระกุล และทีมแลปฟินิกซ์
การรักษาโดยการใช้พลาสมาของตนเองมีมากนานพอสมควรแล้ว และมีงานวิจัยรองรับแม้กระทั่งในสัตว์เลี้ยง เป็นการรักษาตนเองให้เป็นไปตามกลไกธรรมชาติ กระตุ้นการหายด้วยตนเองได้รวดเร็วขึ้น โดยทําให้เกล็ดเลือดเข้มข้นขึ้น ทําให้การทํางานของเกล็ดเลือดมีประสิทธิภาพมากขึ้นในการช่วยฟื้นฟูสุขภาพ พลาสมาเกล็ดเลือดเข้มข้นจะถูกฉีดไปยังส่วนที่ได้รับบาดเจ็บหรือบริเวณรอยโรคเพื่อเร่งการรักษา พบว่ามีการใช้ในการรักษาเส้นเอ็น เอ็น กล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อ กระดูก ข้อต่อที่ เสียหาย และบาดแผลเรื้อรัง โดยพบว่าเกล็ดเลือดจะปล่อย growth factors ต่าง ๆ จํานวนมาก ซึ่ง factors เหล่านี้จะมี ความสําคัญต่อการกระตุ้นการสร้างเซลล์ใหม่ เพิ่มจํานวนของเซลล์ในการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ กระตุ้นการทํางานของเม็ด เลือดขาวและเซลล์ต่าง ๆ มีผลต่อการสมานของแผล สร้างเนื้อเยื่อ เช่น การไปกระตุ้นเซลล์ไฟโบรบาสต์ทําให้เกิดการสร้าง คอลลาเจน และเซลล์เอนโดเธเลียมเพื่อซ่อมแซมเยื่อบุผนังหลอดเลือด เป็นต้น ทําให้การหายจากการซ่อมแซมเกิดได้เร็วขึ้น ลด การแสดงออกของไซโตไคน์ที่เกี่ยวกับการอักเสบ เช่น IL-1 และ TNF-a ในกระบวนการอักเสบ แต่ส่งเสริมการแสดงออกของ IL- 4 และ IL-10 จึงใช้ในการลดการอักเสบหรือรักษาสมดุลของการหายให้พอดี แต่ยังมีผลต่อการส่งเคโมไคน์ให้กับเม็ดเลือดขาว ยังมีผลต่อการลดอาการปวดและบาดเจ็บได้ จึงช่วยลดการใช้ยา เช่น ยาแก้อักเสบและลดปวด เป็นต้น และในพลาสมาเป็นที่ ทราบกันดีว่าเป็นแหล่งรวมอิเล็กโทรไลต์ พลาสมาโปรตีน ฮอร์โมน และช่วยการสร้างร่างแหไฟบรินในการหายของแผล จากเซลล์ไฟบริโนเจน และไฟโบรเนกติน เป็นต้น
ยกตัวอย่าง growth factors ที่พบได้ในเกล็ดเลือดบางส่วน เช่น TGF-R3 Transforming growth factor beta ช่วย กระตุ้นการสร้างคอลลาเจนและหลอดเลือด PDGF Platelet-derived growth Factor กระตุ้นการสร้างคอลลาเจนและหลอด เลือด สองชนิดแรกเป็นส่วนสําคัญที่อาจต้องการมากที่สุดในกระบวนการซ่อมแซมร่างกาย และมีผลไปลดการอักเสบ โดยลด การทํางานของไซโตไคน์ในบริเวณที่เกิดปัญหา และยังมีส่วนอื่น ๆ เช่น FGF Fibroblast growth factors กระตุ้นการสร้างไฟ โบรบาสต์ร่วมกับ TNF, EGF Epidermal growth factor กระตุ้นไฟโบรบลาสต์ VEGF Vascular endothelial growth factor กระตุ้นการสร้างหลอดเลือด HGF hepatocyte growth factor และ IGF Insulin-like growth factor กระตุ้นการ สร้างเซลล์ใหม่ และยังมี factors เคโมไคน์ และไซโตไคน์อื่น ๆ อีกหลายชนิด (Everts et al., 2020) ซึ่งมีส่วนสําคัญทางชีวภาพ และช่วยในการรักษาร่างกายตามกลไกธรรมชาติ เอื้อต่อการกระตุ้นสเต็มเซลล์ หรือการสร้างเซลล์ใหม่และเนื้อเยื่อ ในวงการ แพทย์จึงนํามาใช้ทั้งการรักษาบริเวณที่บาดเจ็บทางศัลยกรรม ทางออโธปิดิกส์ และความสวยงาม จนไปถึงบํารุงผิว ป้องกันผมหลุดร่วง ผมบาง
การนํามาใช้ในทางสัตวแพทย์
ในทางสัตวแพทย์มีการศึกษาในการนํามาใช้หลากหลาย เช่น การใช้ใน Ophthalmology มีหลากหลายรูปแบบทั้ง drop, injection และclot form นิยมใช้กับ corneal ulcer แต่ละรูปแบบใช้ในความรุนแรงที่แตกต่างกัน แบบหยดในรายที่เป็นแบบอ่อน (grade II) พบว่าได้ผลดีในสุนัข (Mishra et al., 2021) และทั้งแบบหยดและแบบแข็งตัวเป็นก้อนได้รับการพิสูจน์ว่าใช้ได้ดีทั้งในสุนัขและแมว (Farghali et al., 2021) และยังใช้ในการลดการอักเสบได้ (Farghali et al., 2021 Vatnikov et al., 2020) ในทางโรคผิวหนังและการหายของแผล มีการศึกษาที่พิสูจน์ว่าได้ผลดี สอดคล้องกับการศึกษาในมนุษย์จนเกิดนวัตกรรมการนํามาใช้เรื่องความสวยงาม ในสัตว์จะเกี่ยวกับการหายของแผลเป็นส่วนใหญ่ (Kim et al., 2009) อาจจะพิจารณาใช้ในรูปเจลหรือหยด (Chung et al., 2015; Crovetti et al., 2004)
PRP ยังถูกนํามาใช้กับระบบสืบพันธุ์ เพื่อเพิ่มศักยภาพการทํางานของรังไข่ รักษาเยื่อบุโพรงมดลูกอักเสบ ปรับปรุงการพัฒนาฟอลลิคูลาร์ ความสามารถของโอโอไซต์ และสภาพแวดล้อมของมดลูกสําหรับการฝังตัวอ่อน ตลอดจนฟื้นฟูการ ทํางานของลูกอัณฑะ และเป็นการรักษาโรคเต้านมอักเสบ ในทางสัตวแพทย์พบการใช้ในปศุสัตว์และการรักษาต่อมลูกหมากใน สุนัข (Bigliardi et al., 2018; Bors et al., 2022; Perego et al., 2022)
การนํา PRP มาใช้มักมีรายงานเกี่ยวกับการบาดเจ็บของเส้นเอ็น ข้อเข่าอักเสบและเสื่อม การศึกษาส่วนใหญ่ทําในม้า เพราะมีปัญหาเรื่องการบาดเจ็บทางกีฬาจึงได้รับความสนใจ ในสัตว์ชนิดอื่นพบมีมากขึ้นแต่ยังควรทําการศึกษาต่อเนื่องเพื่อให้ ได้ข้อมูลที่แม่นยํา การศึกษาในระยะแรก ๆ เช่นพบว่าในการศึกษาสุนัข 8 ตัวที่มีรอยโรคที่เอ็นสะบ้า (patellar tendon) ที่สร้างขึ้นจากการทดลอง การใช้ PRP ไม่ได้ช่วยให้การรักษาดีขึ้น อย่างไรก็ตาม ในการศึกษาสุนัข 12 ตัวที่มีรอยฉีกเอ็นร้อยหวาย (Achilles tendon tears) ที่เกิดจากการทดลอง การใช้ PRP ส่งผลให้อาการขาเจ็บลดลง (lameness) และการประเมินการ หายทางจุลพยาธิวิทยา (histologic scores) ดีขึ้น และมีการศึกษาที่พิสูจน์ให้เห็นประโยชน์และคล้อยตามที่เกี่ยวกับปัญหา กล้ามเนื้อและโครงสร้าง เช่น ในสุนัขกระดูกหัก พบว่าช่วยเร่งการฟื้นฟูการหายของกระดูกหัก รวมทั้งแบบ non-union ช่วย ส่งเสริมการสร้างเส้นเลือดและการหายของกระดูก และใช้ร่วมกับการรักษาทางออโธปิดิกส์อื่น 1 ได้ดี (Andersen et al., 2021; Lopez et al., 2019; Shafieian et al., 2017) นอกจากนี้ในการวิจัยทางคลินิกในสุนัขที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อม เปรียบเทียบระหว่างการใช้ PRP กับการใช้การฉีดคอร์ติโคสเตียรอยด์และกรดไฮยาลูโรนิกเข้าข้อ ให้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้นไม่แตกต่าง กัน และพบว่าการใช้กรดไฮยาลูโรนิกร่วมกับ PRP ให้ผลดีกว่าการใช้กรดไฮยาลูโรนิกเพียงลําพัง (Lee et al., 2019) ยังมีการนําไปใช้ทางศัลยกรรมอื่น ๆ
โดยสรุปแล้วในทางสัตวแพทย์นําไปใช้ในกรณี corneal ulcers, corneal erosion, alkali burn, keratoconjunctivitis sicca, burn wounds, chronic wounds, cutaneous ulcers, acute traumatic bone fractures, tendinopathies, cartilage pathologies และ osteoarthritis เป็นส่วนใหญ่ (Sharun et al., 2021)
ขนาดการใช้ แม้ว่าจะยังไม่ทราบความเข้มข้นของเกล็ดเลือดและ WBC ที่เหมาะสมในการรักษาที่แน่ชัด และอาจขึ้นอยู่กับชนิดและความเรื้อรังของการบาดเจ็บในสัตว์ป่วย จึงเป็นการตัดสินร่วมกันระหว่างสัตวแพทย์และผู้เลี้ยงสําหรับ ทางเลือกในการรักษา เพราะมีแนวโน้มในทางได้ประโยชน์ ลดการใช้ยาชนิดอื่น และลดการใช้ยาลดปวดได้ ในมนุษย์ในบาง กรณีพบว่าใช้ความเข้มข้นสูงกว่า 17 เท่า อย่างไรก็ตาม งานวิจัยบางชิ้นในสุนัข แสดงให้เห็นว่าความเข้มข้นของเกล็ดเลือดที่สูง มาก (มากกว่า 3 เท่าของ Whole blood) อาจไม่เป็นประโยชน์เท่ากับความเข้มข้นของเกล็ดเลือดที่เล็กน้อยมาก (2-3 เท่าของWB) ทั้งนี้ยังขึ้นกับอวัยวะที่ได้รับบาดเจ็บ นอกจากนี้พบว่าหากใรพลาสมาเกล็ดเลือดเข้มข้นมีระดับของเซลล์เม็ดเลือดขาว มาก จะยังมีผลต่อการอักเสบของร่างกาย การลดระดับของ WBC ลงจึงมีความสําคัญไม่น้อยไปกว่าการมีเกล็ดเลือดที่เพิ่มขึ้น บทความนี้เป็นเนื้อหาภาพรวมบางส่วนและไม่ได้ลงรายละเอียดของแต่ละโรค ทั้งขนาดการใช้และวิธีการใช้จึงควรทําการศึกษาเพิ่มเติม