ภาวะขาดแคลเซียมในเต่าบก Calcium deficiency in tortoise

user avatar

Admin(Main)

25 พ.ค. 2024 03:03

ภาวะขาดแคลเซียมในเต่าบก Calcium deficiency in tortoise
น.สพ.วรุตม์ วิบูลย์กุลพันธ์ หมอนิว



ภาวะขาดแคลเซียมเป็นโรคที่พบได้บ่อยในสัตว์เลื้อยคลาน
โดยเฉพาะเต่าบกในที่เลี้ยง มักพบว่าเป็นเต่าอายุน้อยและมีสาเหตุ มาจากจัดการด้านสิ่งแวดล้อมและอาหารที่ไม่เหมาะสม

ซึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะขาดแคลเซียมในเต่านั้นมีได้หลายสาเหตุ ได้แก่

1.การได้รับอาหารที่มีปริมาณแคลเซียมไม่เพียงพอ

2.การได้รับรังสีอัลตร้าไวโอเลตโดยเฉพาะUVB ไม่เพียงพอ

3.การได้รับอาหารที่มีฟอสฟอรัสสูง

4.การได้รับอาหารที่มีโปรตีนสูงซึ่วเป็นผลทำให้ อัตราการเจริญเติบโตรวดเร็วเกินไป

5.อุณหภูมิสิ่งแวดล้อมหนาวเย็นเกินไปส่งผลให้การย่อยและการดูดซึมอาหารได้ไม่สมบูรณ์ 

อาการที่เต่าแสดงออกให้เห็นได้แก่บริเวณกระดองเต่ามีความแข็งลดลงโดยเฉพาะกระดองส่วนท้อง(Plastron) หรือ มีรูปร่างของกระดองผิดปกติไป ส่วนในรายที่รุนแรงจะพบการผิดรูปของกระดูกส่วนอื่นๆ

ได้แก่ ขากรรไกร กระดูกรยางค์ หรือทำให้เกิดภาวะขาอ่อนแรงได้

 


การตรวจวินิจฉัยภาวะขาดแคลเซียมในเต่าสามารถทำได้โดยตรวจร่างกายทั่วไป


จะพบว่ากระดองเต่ามีความแข็งลดลงหรือมีลักษณะผิดรูปร่างไป แต่ต้องคำนึงถึงช่วงอายุของเต่าร่วมด้วย เนื่องจากในลูกเต่าที่มีอายุยังไม่ถึง 6 เดือนนั้นการสะสมแคลเซียม ในกระดองยังไม่สมบูรณ์อาจทำให้เกิดการวินิจฉัยผิดพลาดได้ และควรทำการตรวจวินิจฉัยร่วมกับการถ่ายภาพรังสีเพื่อประเมินลักษณะโครงสร้างของกระดูก

จะพบลักษณะมวลกระดูกลดลง (Osteopenia) ในระยะแรก จนไปถึงลักษณะบางคล้ายกระดาษ (Paper like thin bone) หรือ ร่วมกับการผิดรูป (Deformity) ของกระดูกส่วนใดส่วนหนึ่งหรือทั่วร่างกายได้ โดยในเต่าอาจพบว่ามีความเกี่ยวข้อง

กับการที่ขอบเขตของกระดองส่วนบน (Carapace) ยกตัวแยกออกจากกระดูกสันหลังหรือ Shell Pyramiding ในส่วนของความผิดปกติในค่าโลหิตวิทยาจะพบความผิดปกติของระดับแคลเซียมไอออนในรายที่รุนแรงเท่านั้น

 

การรักษาและการป้องกันภาวะขาดแคลเซียมในเต่า


สามารถทำได้โดยการจัดการสิ่งแวดล้อมให้มีอุณหภูมิ ความชื้น และ ปริมาณแสงแดดให้เหมาะสมของเต่าแต่ละชนิด รวมถึงการจัดการด้านอาหาร

อาจเสริมด้วย Calcium borogluconate 400mg/kg โดยการผสมลงในอาหาร หรือในรายที่รุนแรงหรือมีภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ

จะทำการรักษาโดยการฉีด Calcium gluconate 10-200mg/kg IM หรือ IV

 

บทความสัตว์เลื้อยคลาน

0

26

0