ไก่ชน..ทำไมต้องเสริมมากกว่าโปรตีน EP.1 “บูสเตอร์และนกบิน”
Admin(Main)
ไก่ชน..ทำไมต้องเสริมมากกว่าโปรตีน EP.1 “บูสเตอร์และนกบิน”
โดย ผศ.น.สพ.ดร.สมโภชน์ วีระกุล
——————————————————-
บทความนี้จะกล่าวถึงความต้องการโปรตีนที่ต้องระวัง และไขมันที่ดียิ่งกว่า จึงแบ่งเป็น 2 หัวข้อ ดังนี้
ep 1: โปรตีน กรดอะมิโน ในไก่ชน เท่าไหร่ดี? ใช้โปรตีนเวย์ได้หรือไม่?
ผู้เลี้ยงไก่ชนจำนวนไม่น้อยใช้ศาสตร์ด้านกีฬาและการเพาะกายของนักกีฬามาใช้ เป็นการพัฒนาที่ดีและมีการศึกษากว้างขวาง และในมนุษย์มีการใช้โปรตีนในการสร้างกล้ามเนื้อและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอค่อนข้างมาก มีการใช้โปรตีนเวย์หรือเวย์โปรตีน มาทดแทนแหล่งโปรตีนชนิดอื่น เพื่อการดูดซึมและการนำไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะเป็นโปรตีนชนิดไฮโดรไลซ์หรือไอโซเลตก็ยังถือว่าไม่สมบูรณ์พอสำหรับการพัฒนานักกีฬาหรือไก่ หรือประโยชน์ด้านสุขภาพ
ประโยชน์ของโปรตีนในไก่ชน ในวัยกำลังเจริญเติบโต ที่เซลล์กล้ามเนื้อกำลังเกิดการพัฒนาจะเป็นช่วงที่มีการเพิ่มจำนวนของเซลล์ ทำให้ไก่แต่ละตัวและแต่ละมัดกล้ามเนื้อมีจำนวนเซลล์มากน้อยแตกต่างกัน ไก่ที่ได้รับโปรตีนที่เพียงพอจึงมีอัตราเจริญเติบโตที่ดี เพราะมีเซลล์ของกล้ามเนื้อมากและเมื่อเกิดการขยายขนาดของแต่ละเซลล์จะทำให้มีขนาดของกล้ามเนื้อโดยรวมและน้ำหนักดีกว่าตัวที่ได้รับไม่เพียงพอ
ในมนุษย์ต้องการอย่างน้อย 0.8 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม (g/kgBW) (RDA) (ส่วนใหญ่จะแนะนำกันที่ตัวเลขกลม ๆ คือ 1 กรัม) และความต้องการพลังงานที่เป็นแหล่งโปรตีนร้อยละ 10-35 ของพลังงานทั้งหมด (Dietary Guidelines for American ปี 2020-2025) สำหรับในมนุษย์ที่อายุ 19 ปี เพื่อการส่งเสริมกล้ามเนื้อ และพบว่าหากบริโภคโปรตีนขนาด 0.5-3.5 g/kgBW จะเพิ่มขนาดของกล้ามเนื้อได้ แม้จะมีบางรายงานกล่าวว่าเพียง 0.1 g/kgBW เท่านั้นก็ช่วยธำรงดุลและให้กล้ามเนื้อโตขึ้นได้ (Nutrition Review, 2020) และหากให้โปรตีนสูงก็ใช่ว่าจะทำให้อัตราโตของกล้ามเนื้อเพิ่มได้ดีขึ้น อาจทำให้อัตราลดลงด้วยซ้ำ เช่น บางรายงานอ้างถึงการใช้ขนาด 1.3 g/kgBW จะพบอัตราเจริญของกล้ามเนื้อลดลงได้ แต่ยังพบว่าเหมาะกับผู้ที่ออกกำลังกายอย่างหนัก จะช่วยเสริมให้กล้ามเนื้อแข็งแรงยิ่งขึ้นได้ ดังนั้นการให้โปรตีนสูงย่อมควรคู่กับการออกกำลังที่เหมาะสมกัน และทำให้กล้ามเนื้อโตยิ่งขึ้น บางรายงานจึงแนะนำโปรตีนในระดับที่อยู่ในระดับที่ดีที่สุดคือ 1.5-1.6 g/kgBW ร่วมกับการออกกำลังกายอย่างหนัก จะได้ประโยชน์ที่สุด (Sport Medicine, 2022) แม้ว่ารายงานส่วนใหญ่จะแนะนำช่วงที่ 1.2-1.6 g/kgBW หรืออย่างน้อย 1.2 g/kgBW อย่างไรก็ตามมีหลายรายงานที่ขัดแย้งเช่นกัน มองเห็นว่าระดับโปรตีนไม่ควรสูงและควรทำตามคำแนะนำของ RDA (Recommended Dietary Allowance)
และความต้องการโปรตีนยังขึ้นกับปัจจัยอื่น ได้แก่ อายุ เพศ การออกกำลัง สุขภาพ เป็นต้น ในวัยเด็กจะต้องการโปรตีนตามช่วงอายุ จนถึงอายุ 18 ปี โดยแบ่งเป็นช่วงอายุ 4-9 ขวบ 9-13 และ 14-18 ปี โดยต้องการโปรตีน 19, 34 และ 46 (หญิง) - 52 (ชาย) ตามลำดับช่วงอายุ การได้รับโปรตีนมากเกินไปในเด็กไม่ได้ทำให้กล้ามเนื้อโตยิ่งขึ้น มีระดับที่พอดีที่ได้รับประโยชน์สูงสุด เช่นเดียวกับกลุ่มอายุ 19 ปีขึ้นไปดังกล่าวข้างต้น (Nutrition, 2021) การได้รับโปรตีนมากเกินไปจะทำให้เกิดปัญหาที่ตับและไตได้ อ่านเพิ่มเติมที่ Food and Nutrition Board, Institute of Medicine, National Academy of Sciences
ที่ต้องยกตัวอย่างในมนุษย์ ก็เพราะในไก่ชนมีลักษณะเช่นเดียวกัน โปรตีนที่ให้มากเกินความจำเป็นไม่ได้ทำให้ไก่ชนมีอัตราเจริญเติบโตที่ดีกว่า มีจุดที่พอดีที่ทำให้ได้ประโยชน์สูงสุด
อายุแรกเกิดถึง 3 สัปดาห์ต้องการประมาณร้อยละ 23 ช่วงอายุ 3-6 สัปดาห์ ต่องการร้อยละ 20 และในอายุมากขึ้น 17-18 สัปดาห์ประมาณร้อยละ 17-18 เมื่ออายุมากขึ้นที่ 19 สัปดาห์จะลดลงเหลือเพียงร้อยละ 16 หรือน้อยกว่านั้นที่ 12-14 เท่านั้น เว้นแต่จะเป็นช่วงผลัดขนที่จะให้เป็นร้อยละ 20 (NRCS, 1994) อย่างไรก็ตามความต้องการโปรตีนในฟาร์มเหมือนจะมากกว่า รวมทั้งคำแนะนำต่าง ๆ
อย่างไรก็ตามเมื่อประเมินเหมือนในมนุษย์ พบว่าปริมาณที่แนะนำในไก่จะสูงกว่า เท่ากับ 1.6 g/kgBW สำหรับภาวะธำรง ถ้าต้องการให้กล้ามเนื้อเจริญเติบโตต้องเพิ่มในขนาดเท่ากับอัตราเจริญเติบโตต่อวัน คูณด้วย 0.18 (daily gain x 0.18) เพราะกล้ามเนื้อประกอบด้วยโปรตีนร้อยละ 18 และหากให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นยังต้องคำนวณโปรตีนภาพรวมให้ครบ เพราะถูกนำไปสร้างขนจำนวนมาก ขนมีโปรตีนมากถึงร้อยละ 82 และน้ำหนักของขนในร่างกายคิดเป็นร้อยละ 7 ของน้ำหนักตัว จึงต้องเอา daily gain x 0.82 x 0.07
หรือกล่าวได้ว่าความต้องการโปรตีนทั้งหมดเพื่อการเจริญเติบโต จะเท่ากับผลรวมของทั้ง 3 ส่วน ก็นับว่ามีความต้องการโปรตีนสูงอยู่ไม่น้อย และโปรตีนประมาณร้อยละ 61 จะถูกนำไปสร้างการเจริญเติบโต
ปริมาณของกรดอะมิโนอาจไม่เพียงพอในระดับโปรตีนที่ต่ำ หรือแหล่งโปรตีนขาดคุณภาพ (Applegate, 2008) Dozier และคณะ (2008) แนะนำกรดอะมิโนที่จำเป็นที่ต้องมีปริมาณเพิ่มขึ้นในไก่เนื้อ ซึ่งเหมาะมากที่จะมาเทียบกับไก่พื้นเมือง ได้แก่ Methionine Lysine Threonine Isoleucine Valine และ Arginine มากกว่าคำแนะนำของ NRCS นั่นหมายถึงปริมาณโปรตีนอย่างเดียวไม่พอ ต้องคำนึงถึงชนิดของกรดอะมิโนจำเป็นให้มีเพียงพอ (optimum) เป็นหลักเสียก่อน (Kamran et al., 2004; Applegate, 2008) ตัวสำคัญที่เป็นวิกฤติเลย เช่น Arginine, Threonine, Lysine, Methionine และ Tryptophan ขาดไม่ได้ กรดอะมิโนหลายชนิดสร้างจากกรดอะมิโนตัวอื่นได้ ขณะที่บางชนิดถ้ามีมากเกินไป จะทำให้สมดุลของตัวอื่นแย่ลงหรือขาดดุลได้ หรือสามารถเพิ่มความพิษหรือลดพิษของกรดอะมิโนได้ การใช้กรดอะมิโนที่ไม่พอดีจึงมีความเสี่ยง จึงต้องคำนวณให้ดี
กรดอะมิโนควรจะอยู่ในระดับใดระดับหนึ่งที่พอดีและได้ประโยชน์สูงสุด มีมากเกินไปก็จะถูกทำลายที่ตับ (ขี้เขียว) และขับออกเป็นเกลือยูเร็ตทางปัสสาวะ (ขี้ขาว) หรือได้ของเสียที่เป็นองค์ประกอบของไนโตรเจนมาก ซึ่งเป็นผลเสียต่อสุขภาพ ซึ่งโปรตีนอาจไม่จำเป็นต้องสูงมากไป ให้ระดับที่ให้กรดอะมิโนที่เพียงพอ ซึ่งในงานวิจัยนี้เขาได้ยกตัวอย่างบางชนิดเท่านั้น (Kamran et al., 2004; Applegate, 2008)
นอกจากนี้ Kamran และคณะ (2004) ยังกล่าวว่า หากไก่ได้รับกรดอะมิโนและพลังงาน (ME) ที่เพียงพอแล้ว ควรหลีกเลี่ยงการให้อาหารโปรตีนที่มากเกินไป เราสามารถให้โปรตีนในระดับต่ำได้ จึงเห็นได้ว่าคุณภาพของแหล่งโปรตีนที่มีกรดอะมิโนจำเป็นสำคัญกว่าปริมาณโปรตีน และแหล่งพลังงานอื่นอาจมีบทบาทเพิ่มขึ้นมาทดแทนจากโปรตีน นอกจากนี้ยังพบว่าไก่ไม่สามารถผลิตกรดอะมิโนบางชนิดได้เองเหมือนกลไกทางสรีรวิทยาของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม การเสริมกรดอะมิโนบางชนิดอาจมีความจำเป็น นั่นแหละจะมาจากที่ไหนได้บ้าง
ส่วนใหญ่จึงเชื่อว่าโปรตีนเวย์จะช่วยได้ หรือดูจากผลของการเสริมแล้วดีกว่า นั่นอาจจะมาจากผลของการดูดซึมนำแหล่งโปรตีนนำไปใช้ได้ง่ายกว่า มันจะถูกย่อยแตกตัวเป็นกรดอะมิโนต่าง ๆ แล้วมารวมกันเป็นโครงสร้างโปรตีนอีกครั้งในร่างกาย และเปลี่ยนไปเป็นเอนไซม์ ฮอร์โมน และส่วนประกอบต่าง ๆ ของเซลล์และเนื้อเยื่อ แต่ไม่ได้หมายความว่าโปรตีนเวย์จะให้กรดอะมิโนครบถ้วนทุกชนิดและมีปริมาณที่เพียงพอทุกชนิด โดยเฉพาะในชนิดที่ร่างกายผลิตเองไม่ได้ อาหารเสริมโปรตีนต่าง ๆ จึงควรมีกรดอะมิโนที่เพียงพอ
อ่านต่อ ….
ep 2: ใช้อะไรเสริม ถ้าไม่ใช่แค่โปรตีน
———————————————————-
เรียนรู้ส่วนประกอบของบูสเตอร์และนกบิน:
Whey protein isolate (Milk Specialties, USA), Autolyzed yeast extract (Leiber GmbH, Germany), Medium chain monoglyceride; Lauric acid (FRA Melco, Netherlands), B-carotene, Arginine, Omega 3-6, Astaxanthine, L-carnitine, Soybean hulls, Soybean meal, Rice bran oil, Rice bran, Coconut oil, Chicory pulp, Cane molasses, Limestone, Salt,Yeast culture: (Saccharomyces cerevisiae) Probiotic; (Lactobacillus acidophilus, Lactobacillus plantarum, Pefiococcus pentosaceus, Streptococcus faecium, Bacillus subtilis and Bacillus licheniformis), Vitamin A, Vitamin B1, Vitamin B2, Vitamin B6, Vitamin B12, Vitamin C, Vitamin E, Vitamin D3, Vitamin K, Propionic acid, Nicotinamide, D-Panthenol, L-Lysine hydrochloride, Calcium pantathenate, Choline chloride, Colloidal silica, Pantothenic acid, Folic acid, Methionine, Pyridoxine, Magnesium sulfate, Riboflavin, Niacin, Iron, Manganese, Cobalt, Zinc, Sodium selenite and Inulin.
THE CHARACTERISTIC (คุณสมบัติของอาหาร)
- Better and Faster Recovery.
ช่วยให้มีการฟื้นฟูสุขภาพดีขึ้นและเร็วขึ้น
- Supplementing Vitamins and Nutrients Necessary for Recovery.
เสริมวิตามินและสารอาหารจำเป็นต่อการฟื้นฟู
- Contains Nutrients to Nourish the Liver and Kidneys.
ประกอบด้วยสารบำรุงตับ และไต
- Boost Immunity with B-glucans.
ช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันด้วยเบต้ากลูแคนส์
- Protein Isolate and Medium Chain Fatty Acid.
โปรตีนและไขมันคุณภาพสูง